ไม้ยางพารา ทำอะไรได้บ้าง ? และมีคุณสมบัติอย่างไร ? ไม้ยางพาราจัดอยู่ในประเภทไม้เนื้อแข็งปานกลาง คนส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อนำมาใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีกระบวนการพัฒนามากมายที่ทำให้เนื้อไม้มีสภาพที่คงทนมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญทุกๆ ส่วนของไม้ยางพารายังสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย
วันนี้ทาง MTK WOOD จึงไม่พลาดที่จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับคุณสมบัติของไม้ยางพารา นอกเหนือจากเฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราสามารถทำอะไรได้บ้างไปดูกัน!
คุณสมบัติของ ไม้ยางพารา ทำอะไรได้บ้าง ?
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคุณสมบัติของไม้ยางพารากันก่อน คุณสมบัติของไม้ยางพารามีความใกล้เคียงกับไม้ที่มีราคาสูงอย่างไม้สัก เนื่องจากเนื้อไม้มีความอ่อนตัวสูง ทำให้สามารถนำมาแปรรูป ดัด หรือ ตัดแต่งได้หลากหลายวิธี และทุกส่วนของไม้ยางพารายังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาง หรือ ลำต้น ซึ่งคุณสมบัติหลักๆ ของไม้ยางพารา มีดังนี้
- มีลวดลายที่สวยงาม ไม้ยางพารามีลวดลายไม้ที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ มีความคล้ายคลึงกับไม้สัก จึงทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ไม้สักขาว” เป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ วัสดุตกแต่งภายใน และภายนอก รวมไปถึงการนำไปทำพื้นไม้
- ความแข็งแรงของเนื้อไม้ ไม้ยางพารามีความแข็งแรงใกล้เคียงกับไม้สัก ถึงแม้ว่าจะไม่แข็งแรงเท่าไม้สัก แต่ก็มีความยืดหยุ่นสูงกว่า
- ย้อมสีได้ เนื่องจากเนื้อไม้ยางพารามีสีขาว จึงทำให้สามารถนำไปย้อมสีได้ง่ายเพื่อเพิ่มความสวยงาม ช่วยให้คุณสามารถทาสีได้ตามต้องการ
- นำไปตัดแต่งได้ เนื้อไม้ยางพารามีคุณสมบัติยืดหยุ่น จึงง่ายต่อการนำไปตัดแต่งทรง ขัดสี จนนำไปถึงผ่านกระบวนการต่างๆ อีกทั้งยังมีความแข็งแรงในการตัด ทำให้สามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย
- สามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพได้ คุณสมบัติของไม้ยางพาราสามารถนำไปผ่านกระบวนการอัดน้ำยา เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลง สามารถนำไปอบแห้งเพื่อคงสีสันที่สวยงาม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการต้านการติดไฟ การต้านแสง UV และ ความชื้น รวมถึงช่วยเพิ่มความแข็งแรง และความทนทานต่อสภาพอากาศ
ข้อเสีย ไม้ยางพารา
- ไม้ยางพารา เป็นไม้ที่มีอัตราการยืดหดตัวสูง จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการยืดหรือหดตัวของไม้ ทำให้เกิดการบิดงอได้ง่าย และเกิดปัญหาผิวในเนื้อไม้แตก
- เมื่อนำไม้ยางพารามาแปรรูปจะมีขนาดไม่เท่ากัน ต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
- ไม้ยางพารารับน้ำหนักได้จำกัด เพราะเป็นไม้เนื้อที่ค่อนข้างอ่อน
- ถ้าไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี ภายในเนื้อไม้จะเป็นสารอาหารของปลวกและเชื้อรา ทำให้ไม่ทนต่อความชื้น หรืออาจแตกได้ง่าย
- ต้องหมั่นทาน้ำยาเคลือบผิวไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าสู่เนื้อไม้
ไม้ยางพารา ทำอะไรได้บ้าง ?
ไม้ยางพารานิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับตกแต่งภายใน และ ภายนอก รวมทั้งยังนำมาใช้เป็นวัสดุค้ำจุน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปได้มากมาย โดยในหัวข้อนี้เราจะมาบอกถึงความสามารถของไม้ยางพารา ไปดูกันว่านอกเหนือจากเฟอร์นิเจอร์แล้ว ไม้ยางพารายังสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง ?
พาเลทไม้
ไม้ยางพาราแปรรูปสามารถนำมาใช้เป็นพาเลทไม้ หรือ ลังไม้ ใช้สำหรับเป็นแท่นวางสินค้า นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนส่ง ด้วยคุณสมบัติของไม้ยางพาราเป็นไม้เนื้อแข็ง จึงมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 1-2 ตัน ที่สำคัญเก็บรักษาดูแลง่าย เมื่อเกิดการชำรุดเล็กๆ น้อยๆ สามารถนำมาซ่อมแซมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่
ไม้พาราประสาน
สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ในกลุ่ม Retail ประเภทร้านค้าในห้างนิยมเลือกใช้ไม้ประสานที่ทำมาจากไม้ยางพารา เพราะเป็นไม้ที่มีราคาประหยัดมากกว่าไม้ชนิดอื่น และยังคงมีความแข็งแรง ที่สำคัญเนื้อไม้เป็นสีขาวจึงสามารถนำไปย้อมสี หรือทาทับเพื่อใช้ในการตกแต่งได้ง่าย
ไม้โครง
มักนำไปทำเป็นโครงสร้างหลักของงานตกแต่งผนัง งานฉาก รวมไปถึงการทำประตู หรือ หน้าต่าง โดยไม้ที่นำมาเป็นโครงนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ไม้โครงเส้น และ ไม้โครงจ๊อย ซึ่งไม้ทั้ง 2 ลักษณะนี้มีให้เลือกหลากหลายไม้ และหนึ่งในไม้ที่คนนิยมใช้ก็คือ ไม้ยางพารา เพราะเป็นโครงที่นิ่ม เหนียว ใช้งานง่าย เหมาะกับการนำไปขึ้นรูปหรือดัดทรง
ไม้นิ้ว
ไม้นิ้ว หรือ ไม้นิ้วคูณนิ้ว ใช้สำหรับนำไปขึ้นโครงป้าย เช่น ป้ายเลือกตั้ง ป้ายโฆษณา และ ป้ายขายที่ดิน เป็นต้น และไม้ที่นิยมสำหรับทำไม้นิ้วคูณนิ้ว คือ ไม้ยางพารา เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีความหนาแน่นและยืดหยุ่นสูง ที่สำคัญมีความทนทานและราคาประหยัด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการซื้อในจำนวนมาก
วิธีเลือก ไม้ยางพารา
การเลือกไม้แต่ละประเภทเพื่อนำมาใช้งาน ต้องพิจารณาจาก 2 ลักษณะการใช้งาน คือ ใช้เพื่อการรับน้ำหนัก หรือ ใช้สำหรับการตกแต่ง ซึ่งมาตรฐานของไม้ยางพาราสามารถดูได้จากเกรด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เกรดหลักๆ ดังนี้
- เกรด AB ไม้ยางพาราแปรรูปคุณภาพดี เป็นเกรดที่คัดตำหนิออกแล้ว มีลักษณะเป็นท่อนไม้ยาวประกอบไปด้วยด้านหน้าที่เป็นไม้เกรด A เนื้อไม้มีลวดลายสวยเป็นธรรมชาติ มีสีเท่ากันทุกด้าน และไม่มีใส้ไม้ ส่วนด้านหลังเป็นเกรด B มีตำหนิรอยตาไม้เล็กน้อย แต่คุณสมบัติที่เด่นชัดของไม้ทั้งสองเกรด คือ มีสีที่สม่ำเสมอ เหมาะกับการนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน หรือไม้โครงสำหรับวางโชว์สินค้า
- เกรด C ไม้ยางพาราแปรรูป เกรด C บนเนื้อไม้จะมีรอยตาไม้ปานกลาง มีใส้ไม้ และมีตำหนิ ไม่เหมาะกับงานเน้นโชว์ผิวไม้ หากต้องการนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ สามารถทาสีบนผิวไม้เพื่อปิดตำหนิได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ คลังสินค้า เนื่องจากไม้ยางพารามีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี น้ำหนักเบา และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
โดยคุณสมบัติพื้นฐานของไม้ยางพารา เป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง จึงสามารถนำไปใช้ได้งานได้หลากหลาย หากต้องการนำไปใช้ในงานประณีต แนะนำว่าให้เลือกใช้เกรด AB และสำหรับใครที่ไม่เน้นโชว์ผิวไม้ แต่เน้นการรองรับน้ำหนักโดยตรงขอแนะนำ เกรด C
ถึงแม้ว่าทั้ง 2 เกรดจะมีความแตกต่างในเรื่องของตำหนิบนเนื้อไม้ แต่ยังคงคุณภาพความทนทาน และราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมตามจุดประสงค์การใช้งาน เพราะแต่ละเกรดมีคุณภาพ และขนาดที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าต้องการไม้ยางพาราเกรดนอกเหนือจากที่ระบุ สามารถสั่งตัดไม้ขนาดพิเศษได้เลยที่ MTK WOOD เราพร้อมส่งมอบสินค้าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
ไม้ยางพารา เกรดคุณภาพ สั่งตัดได้หลายขนาด ต้องที่ M.T.K
สำหรับใครที่ประกอบการจัดการคลังสินค้า และกำลังมองหาไม้พาเลทคุณภาพดี มีให้เลือกหลายเกรด นอกจากใช้กับงานโลจิสติกส์แล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ขอแนะนำตัวเลือกดีๆ อย่าง M.T.K โรงงานไม้ยางพาราแปรรูป การันตีคุณภาพด้วยการรับรองจากมาตรฐานสากล
- ไม้ดีมีมาตรฐาน ไม้ของเราผ่านการรับรองมาตรฐาน IPPC หรือ International Convention ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สากลยอมรับ หากไม่มีการรับรอง IPPC จะทำให้ไม่สามารถขนสินค้าข้ามประเทศได้
- เครื่องจักรมีคุณภาพทุกขั้นตอน เราใช้เครื่องจักรคุณภาพดี สามารถผลิตไม้ได้หลายรูปแบบตามมาตรฐานแน่นอน
- ครบทุกความต้องการ ตั้งแต่รับผลิต และจำหน่ายไม้ยางพาราแปรรูป, บริการรับเลื่อยไม้, บริการอัดน้ำยา-อบไม้ และบริการขนส่งไม้ทั่วประเทศไทย ด้วยรถเทเลอร์ รถบรรทุก ที่พร้อมให้บริการกว่า 20 คัน
สามารถติดตาม และดูข้อมูลเพิ่มเติม MTK ได้หลากหลายช่องทางที่
Facebook : MTK เอ็มทีเค
Line : @mtkwood
Tel : 095-654-6551
Email : marketing@mtkwood.com